ถึงเวลาแล้วที่เมืองเชียงใหม่ ควรจะต้องมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ “Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network”

จากแนวโน้มปัญหาการจราจรและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น คงถึงเวลาแล้วที่เมืองเชียงใหม่ ควรจะต้องมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ เพราะหากเราละเลย นิ่งเฉยกับปัญหาเหล่านี้ ปัญหาการจราจรที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลให้อากาศเป็นมลพิษและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เนื่องมาจากการเดินทางของผู้คนที่ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้นในทุกปี เพราะระบบขนส่งสาธารณะในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้บริการได้อย่างสะดวกเพียงพอที่จะยอมเปลี่ยน รูปแบบการเดินทางมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน  แม้ว่ายานพาหนะส่วนตัว ยังคงตอบโจทย์ในเรื่องการเดินทางได้มากที่สุด เพราะสามารถนำทางจากบ้านไปถึงจุดหมายปลายทางทันที แต่ผลที่เกิดขึ้นคือรถยนต์ออกมาเต็มท้องถนน เกิดปัญหารถติดและอุบัติเหตุบนท้องถนน การจะร่วมกันแก้ปัญหาทั้งรถติดและอุบัติเหตุ ด้วยระบบขนส่งมวลชน ต้องแข่งขันด้าน Connectivity กับรถยนต์ คิดถึงความสะดวกของผู้เดินทางเป็นหลัก  คิดด้วยหัวใจของคนใช้บริการ

โครงการจัดตั้งเครือข่ายการเดินทางในเมืองเชียงใหม่Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network”  ระบบขนส่งมวลชนที่ต่อเชื่อมเข้าจากต้นทางสู่ปลายทางโดยมี connectivity มากที่สุด การเชื่อมต่อถึงกัน เพราะการคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์ ที่ให้การเดินทางเป็นเรื่องง่าย เชื่อมต่อ connect ระหว่างสถานที่ต่างๆ เพื่อนำคนและสิ่งของจากที่หนึ่งถึงที่หนึ่ง จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง การเชื่อมต่อที่ดี ต้องเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวก มีจุดเชื่อมต่อที่น้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด และมีค่าใช้จ่ายต่อหัวน้อยที่สุด

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในโครงการ Low Carbon Demonstration Project Implementation for Chiang Mai Municipality โดย  นายลุค สตีเวนส์ (Mr. Luc Stevens) ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย และผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Resident Coordinator and UNDP Resident Representative)  ได้ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยภายในเมือง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถสะท้อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมภายในเมืองได้ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนได้รับผลกระทบจากภายนอกและภายในบริบทของชุมชนเมืองเอง โดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรมของชุมชนนั้นเอง ตั้งแต่ การสร้างปัญหามลพิษในเมือง และการเพิกเฉยต่อการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ด้วยเหตุนี้ จึงได้ดำเนินการโครงการ Low Carbon Demonstration Project Implementation for Chiang Mai Municipality ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะในเมืองเชียงใหม่ เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด โดยการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในบริเวณเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับเมือง (City Carbon Footprint : CCF) ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กระบวนการการจัดเก็บข้อมูลและการติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลในระดับเมืองนั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลในหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่นั้น ดังนั้น การสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ง่ายและสะดวกกับผู้ให้ข้อมูลถือเป็นประเด็นสำคัญที่จะเป็นพื้นฐานให้เกิดระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน อีกทั้งการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อเป็นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงประชาชนให้คนในชุมชนเกิดความตื่นตัว นำไปสู่แนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

ด้วยเหตุนี้ การผลักดันให้เมืองเชียงใหม่สามารถบรรลุเป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำได้นั้นถือเป็นงานสำคัญที่จะนำมาปฏิบัติได้จริงในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ขอบเขตของโครงการนี้

ทางด้านนายวิรุฬ  พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า“การผลักดันให้เมืองเชียงใหม่สามารถบรรลุเป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำได้นั้นถือเป็นงานสำคัญที่จะนำมาปฏิบัติได้จริงในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ขอบเขตของโครงการนี้ได้ครอบคลุมถึงการทบทวนและวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเน้นการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในเมืองเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองเชียงใหม่ ทั้งประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อันจะผลกระทบในเชิงบวกของการพัฒนาเมืองเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป” Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network ได้ครอบคลุมถึงการทบทวนและวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น อีกทั้งยังเน้นการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในเมืองเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น  เที่ยงบูรณธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสาธารณะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสถาบันนโยบายสาธารณะ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในโครงการ Low Carbon Demonstration Project Implementation for Chiang Mai Municipality ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเขตเมืองเชียงใหม่ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 70,000 tCO2e โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ มาเป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยสร้างความร่วมมือเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Smart Mobility Alliance) เพื่อการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้เกิดการเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งอุตสาหกรรมบริการ และสร้างความพร้อมในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะตามมาในอนาคต” นอกจากนั้นยังมีการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองเชียงใหม่ ทั้งประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว นำเสนอแนวคิดโดยการปรับเปลี่ยนการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ มาเป็นระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อที่จะพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ ด้วยพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพให้เกิดการเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวไปยัง แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งอุตสาหกรรมบริการ และสร้างความพร้อมรับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ในนามของเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai Smart Mobility Alliance)  ทุกฝ่ายได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงจัดตั้งเครือข่ายการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมดังต่อไปนี้

บันทึกข้อตกลงจัดตั้งเครือข่ายการเดินทางอัจฉริยะในเมืองเชียงใหม่จัดทำขึ้น โดยมีเจตนารมณ์เพื่อ ให้การดำเนินงานด้านการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ของหน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการอย่าง มีเอกภาพ และบูรณาการการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณะเป็นสำคัญ โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมเครือข่ายดังต่อไปนี้

เครือข่ายผู้ประกอบการขนส่งมวลชนแบบประจำทาง (Fixed Route) ผู้ให้บริการระบบรถสาธารณะ ประกอบด้วย

  1. บริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “RTC”
  2. บริษัท พลังงานเพื่อเชียงใหม่ จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “E4C”

เครือข่ายผู้ประกอบการขนส่งมวลชนแบบไม่ประจำทาง (Non-Fixed Route)  ประกอบด้วย

  1. บริษัท เคนเบอร์ซัพพลายส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “KENBER”
  2. สหกรณ์สามล้อเครื่องนครเชียงใหม่ จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า”

เครือข่ายผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและผู้สนับสนุนด้านการพัฒนาระบบ (Smart Mobility Infrastructure)

  1. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “SPP”
  2. สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “ERDI”
  3. บริษัท ขนส่งเชียงใหม่ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “CSE”
  4. บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “Grab”
  5. บริษัท กรีนทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “GTC”
  6. บริษัท พีเอสเอส กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “PSS”
  7. บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “BSS”
  8. บริษัท รถไฟฟ้าเชียงใหม่ 2018 จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “CEV”
  9. บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “PEA ENCOM”

เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐฯ ผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ

  1. จังหวัดเชียงใหม่
  2. เทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “เทศบาล”
  3. สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่
  4. กลุ่มงานจราจรตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “ตำรวจจราจร”
  5. สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “UNDP”
  6. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกไทย (องค์การมหาชน) ซึ่งต่อไปนี้ในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า “TGO”

ทุกฝ่ายได้ตกลงทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันมีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในการ พัฒนาเมืองผ่าน Chiang Mai Smart Mobility Alliance Network ของจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ขอบเขตของบันทึกข้อตกลงนี้ บันทึกข้อตกลงนี้ทำด้วยความมุ่งมั่นและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายทางด้านกิจกรรมและเรื่องการเงิน

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการเครือข่ายข้อมูลและการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการการเดินทางในเมืองเชียงใหม่ เพื่อลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล ลดการจราจร และลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้ยานพาหนะ อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเมืองร่วมกันของทุกฝ่าย

พลโทภาณุ โรจนวสุ  รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า เทศบาลนครเชียงใหม่ มีวิสัยทัศน์ มุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาลปัญหาด้านการพัฒนาเมืองหลักๆของ  เทศบาลนครเชียงใหม่ ที่เป็นปัญหาหลักและท้าทายก็คือ ปัญหาการจราจร ที่ต้องยกระดับมาตรฐานการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในระดับสากล รวมถึงปัญหาการจัดการขยะ ซึ่งเทศบาลนครเชียงใหม่ให้ความสำคัญ 3 ส่วนคือ ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้รถส่วนตัว ลดการจราจรและลดก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากไอเสียเครื่องยนต์ ซึ่งภายในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่พบว่าแหล่งคาร์บอนส่วนใหญ่มาจากยานพาหนะ เพราะมีรถที่จดทะเบียนกว่า 2 ล้านคันและประมาณ 30% จะวิ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ ก็ให้ความสำคัญเรื่องการจัดการขยะ โดยจะลดปริมาณขยะจากวันละ 330 ตันลง โดยการหาวิธีการใหม่ๆ แต่ให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนสุดท้ายคือ พื้นที่สีเขียว ที่ต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอน ซึ่งคาดว่าทั้ง 3 ส่วนที่เทศบาลนครเชียงใหม่จะดำเนินการจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกลงได้

เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการผลักดันให้เมืองเชียงใหม่สามารถบรรลุเป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำได้นั้นถือเป็นงานสำคัญที่จะนำมาปฏิบัติได้อย่างจริงจังในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มีความร่วมมือกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในการร่วมดำเนินโครงการ Low Carbon Demonstration Project Implementation for Chiang Mai Municipality ที่ได้ครอบคลุมถึงการทบทวนและวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเทศบาลเองได้ให้ความสำคัญต่อระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ เพื่อลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล นอกจากนั้นยังมีการสร้างความตระหนักในความสำคัญของการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองเชียงใหม่ ทั้งในภาคส่วนของประชาชนชาวเชียงใหม่ในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่และพื่นที่ใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยว ที่ได้เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ อันจะผลกระทบในเชิงบวกที่จะสอดคล้องกันระหว่างการพัฒนาเมืองในระดับนโยบายและการพัฒนาเมืองในเชิงพื้นที่ เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว เพื่อให้ เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้บรรลุวิสัยทัศน์ ในการมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น