เชิญชาวพุทธร่วมพิธีไหว้สาใส่ขันดอกแขวนโคมจุดประทีปหมื่นดวงบูชาพระรอดหลวงสมโภชวัดมหาวันครบ 1,365 ปี

พระประกอบบุญ สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เจริญพรว่า ประชาชนชาวพุทธทั่วประเทศต่างเดินทางมากราบไหว้ขอพรพระรอดหลวงในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2565 พระรอดหลวงอายุ1,400 ปี คู่เมืองลำพูน ไหว้ขอพรพระรอดหลวง แก้บนพระรอด เช่าบูชาพระรอดสุดขลังของดีเมืองลำพูน และเที่ยวชมบรรยากาศภายในวัดมหาวัน ชมศิลปวัฒนธรรม ในวันที่ 26-30 มกราคม 2565 เชิญชาวพุทธมาร่วมพิธีไหว้สาใส่ขันดอกแขวนโคมจุดประทีปหมื่นดวง ถวายบูชาพระรอดพันปีชมนิทรรศการพระเครื่องพระสกุลลำพูน การแสดงศิลปะวัฒนธรรม กาดมั่ว สินค้าอาหารพื้นเมืองเหนือ

ทั้งนี้นักนิยมพระเครื่องหลายต่อหลายคนเมื่อมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดลำพูน ส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะแวะเข้าไปที่วัดมหาวัน วัดแห่งนี้นอกจากจะเป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีแล้ว วัดนี้ยังเป็นต้นตำนานของพระรอดเมืองลำพูน ที่นักสะสมพระเครื่องต่างต้องการมีไว้ครอบครอง เป็นที่รู้กันดีว่าวัดมหาวันลำพูนเป็นต้นกำเนิดของพระรอด

พระประกอบบุญ สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน เจริญพรอีกว่าพิธีสมโภชมหาพุทธาภิเษกพระรอดสัมฤทธิ์ พระรอดรัตนมณีหยกดำ พระพุทธธาตุเจ้า บูรณะปิดทองพระพุทธรูปโบราณ พระกริ่งอิ่มบุญ มหากุศลสร้างมหามณฑปพระพุทธสิกขีปฎิมากรพระรอดหลวง กำหนดการ ในวันที่ 22 มกราคม 2565 เวลา 14.00 น. จะมีพิธีแห่พระรอดสัมฤทธิ์ พระรอดรัตนมณีหยกดำพระพุทธธาตุเจ้า จากวัดพระสิงห์วรมหาวิหารจังหวัดเชียงใหม่สู่วัดมหาวันจังหวัดลำพูน และในวันที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.พิธีแห่อัญเชิญพระรอดพันปีสู่ข่วงแก้วลานบุญบูชา ใส่ขันดอกทุกวันในเวลา 16.00น.มีพิธีเปิดงานพระรอดมหาวัน ในวันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 17.00 น.ประกอบพิธีทำบุญอุทิศแด่บูรพาจาร์ยและอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวัน ในวันที่ 29 มกราคม 2565 เวลา 19.00 น.ประกอบพิธีสมโภชมหาพุทธาพิเษกพระพุทธรูปต่างๆ จุดประทีปโคมไฟ และวันที่ 30 มกราคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00 น.พิธีบรวงสรวง และพิธีแห่พระรอดคุ้มเมือง และเวลา 13.00 น. พิธีบรวงสรวง ยกปลีฉัตรพระรอดหยก และเจริญพระพุทธมนต์สมโภชเบิกเนตรพระกริ่งอิ่มบุญ พระรอดหยก พระรอดสัมฤทธิ์ พระพุทธธาตุเจ้า พระพุทธรูปโบราณปิดทองและพิธีทอดผ้าป่าสร้างมณฑปพระพุทธสิกขีปฎิมากรพระรอดหลวงเทิดพระบารมีพระนางเจ้าจามเทวีศรีหริภุญชัย ตามลำดับ

ปัจจุบันแม้ว่าพระรอดวัดมหาวันจะเป็นวัตถุมงคลมีค่าหายากก็ตาม แต่กระนั้นยังมีกลุ่มคนในชุมชนยังคงสืบทอดภูมิปัญญาในการปั้นพระรอดมาจนถึงปัจจุบัน อันถือเป็นการสานต่อจิตวิญญาณแห่งบรรพชนในอดีตเอาไว้มิให้สูญหาย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของคนลำพูนที่ลมหายใจแห่งชีวิต ยังคงดำเนินต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น