สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ สำนักงานประสานนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย (สป.สว) และกองเลขาสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “สานพลัง สร้างเมืองเจียงใหม่…เพื่อรองรับสังคมสูงวัย” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ สำนักงานประสานนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย (สป.สว) และกองเลขาสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “สานพลัง สร้างเมืองเจียงใหม่…เพื่อรองรับสังคมสูงวัย” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์เปิดประเด็น “สังคมไทยกับการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย” โดย รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมการพัฒนานโยบายรองรับสังคมสูงวัย
ประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัย สิ่งที่น่าตกใจและยิ่งตกใจมากขึ้นเห็นข้อเท็จจริงก็คือ ในอนาคตเราจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณร้อยละ 20 สูงอีกร้อยละ 30 ปัญหาการเพิ่มของประชากรผู้สูงวัย เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ไม่ใช่ปัญหาของกลุ่มคนที่อยู่ในวัยสูงอายุเท่านั้น สิ่งที่ต้องตระหนักคือกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 40-60 ปี ที่จะเปลี่ยนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในช่วง 10 ปีต่อไป ซึ่งประชากรกลุ่มนี้มีจำนวนมหาศาล ดังนั้นการก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุจึงเปรียบเสมือนเหมือนเคลื่อนสึนามิที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง การมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นไม่ใช่ปัญหาของผู้สูงอายุเทานั้นที่เป็นปัญหา แต่เป็นปัญหาของคนรุ่นใหม่ เพราะคนไทยอายุยืนมากขึ้น คนไทยเฉลี่ย 77 ปี โดยผู้หญิงอายุเฉลี่ย 79 ปี เพศชายอายุเฉลี่ย 73 ปี และจะเพิ่มเป็นอายุเฉลี่ย 80 ปี ขะเห็นได้ว่าประชากรเราจะมีอายุยืนมากขึ้นเนื่องจาก อัตราการตายน้อยลง มีปัญหาว่าเด็กรุ่นใหม่เดิมจะมีผู้ใหญ่กับเด็ก 4 คน ต่อ 1 ในอนาคตเหลือ 2 คน ต่อ 1 เพราะคนไม่มีลูก คนที่พร้อมกลับไม่ท้อง แต่คนที่ท้องกัลับเป็นคนที่ไม่พร้อม โจทย์สำคัญคือแล้วเราจะทำอย่างไร ในอนาคตคนที่เกิดจากแม่ที่ไม่พร้อมนี้จะเติบโตเป็นวัยทำงาน คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเมื่ออายุยืนขึ้นต่อไป คนรุ่นใหม่ จะต้องดูแลพ่อ แม่ ปู ย่า ตายาย เป็นปัญหาที่น่ากลัว สำหรับคนรุ่นใหม่ คนที่ 40 – 60 ปีเป็นปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของคนสูงอายุ คนไทยชอบตายเอาดาบหน้า เราชอบแก้ไขปัญหาเฉพาะ ต่อไปเริ่มมีปัญหา ต่อไปต้องวางระบบ คิดจะสร้างระบบรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การสร้างระบบก็คือ กลับมาดูพุทธศาสนา สอนเราพวกเราว่า มนุษย์เกิด แก่ เจ็บตาย ทุกคนหนีไม่พ้น แต่จะทำอย่างไรให้ “คนแก่ช้าสุด แก่ช้าสุดให้ใกล้ตาย แล้วเจ็บให้สั้นสุด แล้วตายเลย” หลักการก็คือแก่ช้าที่สุดคือเราจะต้องอยู่อายุยืนพึ่งพาตัวเองได้ยาวที่สุด พึ่งคนอื่นให้น้อย เมื่อเจ็บป่วยให้ระยะเวลาสั้นที่สุด และ เสียชีวิตอย่างสงบ เนื่องจากถ้าเราแก่ช้าก็พึงพาตัวเองหรือพึงพาคนอื่น ถ้าเราพึ่งพาคนอื่นยืดเวลาพึ่งพาคนอื่นยาวที่สุด อาจจะต้องพึ่งพาในบั้นปลาย และตายเลย เรายึดหลัก เราจะสร้าระบบรองรับอย่างไร แก่ช้าสุด พึ่งพาตัวเองยาวสุด โดยพึ่งพาทางด้านเศรษฐกิจ มีกินมีใช้ การทำงานก็ต้องให้ยาวขึ้น ไม่ใช่แบบเดิม 50 เลิกทำงาน ถ้าทำงานให้ยาวจะต้องทำอย่างไร ต้องถอดบทเรียนอีกเยอะ ต้องปรับสภาพแวดล้อม ถ้าล้มพิการก็พึ่งพาตัวเองไม่ได้ การดูแลสุขภาพตนเอง ต้องทำตั้งแต่ยังหนุ่มสาวเป็นต้นทุนสุขภาพ เรื่องเศรษฐกิจต้องออมตั้งแต่หนุ่มสาวทั้งสิ้นเป็นต้นทุนด้านการเงินและเศรษฐกิจ สร้างระบบรองรับภาวะสุขภาพ ทำอย่างชุมชน เมือง องค์กรทั้งหลาย ชมรมผู้สูงอายุ มี 4 มิติ 1) มิติเศรฐกิจ รู้จักการออม ถ้าเรากู้เราจะออมเอาเงินออมไปใช้ 2) มิติสภาพแวดล้อม คนล้มหรือเจ็บป่วย แพงกว่าที่เราจะสร้างสภาพแวดล้อม ปรับทั้งชุมชนจะช่วยได้เยอะ ปรับในบ้านมักเกิดเหตุในห้องน้ำ ไม่มีราวจับ พื้นลื่น ถนนหนทาง ไม่ขรุขระ 3) มิติสุขภาพ แก่ช้า เจ็บช้า ตายอย่างรวดเร็ว ระบบสุขภาพที่ดีและเหมาะสม 4) มิติชุมชนและสังคม ในการจัดการเรื่องเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ
เราจะทำอย่างไรให้พึ่งตัวเองได้ยาวที่สุด การออม ปัจจุบันเป็นหนี้มากกว่าออม ขยายอายุการทำงานของทุกคน สถิติธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าคนอายุ 45 ปี หยุดทำงาน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ทำอย่างไรให้คนทำงานยาวขึ้น แล้วจะทำอะไร คำตอบก็คือ โลกสมัยนี้ไม่มีอาชีพ ทักษะเดียว แต่พยายามให้มีทักษะสำรอง หลายอย่าง เทคโนโลยีที่เปลี่ยนการทำงาน ต้องส่งเสริมให้คนฝึกทักษะ ไม่มีใครรู้โลกเปลี่ยนเร็วมาก แต่เราจะเอื้อให้เขาได้เปรียบในการเรียนรู้ มีอาชีพสำรองได้อย่างไร อันหนึ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทยของเรามีแรงงานพม่า เขมร ลาว ทำงาน แต่ในอนาคต เขาก็ต้องกลับไปทำงานในประเทศตนเอง เพราะขาดแคลนแรงงานเหมือนกัน ต้องคิดให้ไกล ทำอย่างไรจะดึงคนที่มีความรู้ ความชำนาญ ให้อยู่ในประเทศไทย สภาพแวดล้อม ที่เชียงใหม่ ทำค่อยข้างดีที่อย่างกรณีที่หนองตองทำงานในมิติสุขภาพ อำเภอสารภีมีครูบาน้อย ท่านก็พยายามแสวงหาศรัทธาร่วมกันจัดหาที่ดินสร้างโรงพยาบาลทำงานร่วมกับ คณะพยายาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำรวจว่ามีปัญหาอะไร มีครูภูมิปัญหา ใครมีของดีที่ไหน ระดมภูมิปัญญามาคุยเรียกว่าโมเดล บวร บ้าน วัด โรงพยาบาล ฟื้นฟู่ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุอยู่บ้าน นอนดูทีวี ดูเพดาน ไม่มีกิจกรรมยิ่งเกิดโรคซึมเศร้า มีเรื่องคิดเยอะ กรณีที่อำเภอโพธารา จ.ราชบุรี มีศูนย์ฟื้นฟู อาสาสมัครอุ้มผู้สูงอายุ มาร่วมกันทำกิจกรรมร่วม สวดมนต์ ร้องเพลง ถัตถกรรม ผู้สูงอายุพอใจมาก เพาะอยากให้ถึงวันที่นัด เพิ่มเป็น 3 วัน คนอื่นที่บ้านก็ได้ทำความสะอาดบ้าน คนติดเตียง มีแนวคิด เอาผู้ติดเตียงมารวมที่บ้านพักคนชรา ไม่คุ้ม แพง เปิดโอกาสให้ลูกทิ้งพ่อ แม่ ถ้ากระจายตามบ้าน สร้างระบบรองรับในชุมชนได้อย่างไร อีกหนึ่งตัวอย่างที่จังหวัดลพบุรี อำเภอลำสนธิ สร้างเป็นระบบที่ไปเยี่ยมดูแลถึงบ้าน มีตารางชัดเจน มีอาสาสมัคร สร้างระบบ ปรับสภาพแวดล้อม ระดมชุมชน และให้เจ้าของบ้านออกเงิน รวมมือกับสถาปัตหลายแห่ง “ศูนย์อยู่ดี” ถ้าทุกตำบล มีศูนย์อยู่ดีมีสุข มีความรู้ จะปรับปรุงบ้าน สถานที่ต่าง ๆ ต้องทำอย่างไร ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกัน เรียนรู้กันและกัน
เมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ เสียเปรียบเพราะชุมชนที่ไม่ชัดเจน แต่เมืองใหญ่ทีได้เปรียบก็คือ การรวมตัวในกิจกรรม อย่าง กทม สูงอายุรวมตัวกับทำกิจกรรม เพาราะพื้นที่ไม่มีชัดเจน แต่ละแห่งต้องคิดว่า จะทำอย่างไรสุดก็คือ จะทำอย่างไรให้ตายดี อย่างไรก็ต้องตาย ตายดีแปลว่า ไม่ทรมาน เจาะคอ ใส่ทอหายใจ ฟื้นก็ไม่ได้ ตายก็ไม่ลง ต้องทำให้แก่ช้า พึงพาตัวเองได้ยาว พอถึงอายุขัยตายเร็ว 2 ตายดี พินัยกรรมชีวิต คำสั่งเสียในการปฏิเสธการรักษา หรือพินัยกรรมชีวิตได้ ว่าขั้นไหนที่ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ไม่ทำเราหมดสภาพของความเป็นมนุษย์ เพราะแพทยารักษาจนตาย การส่งเสียอย่างเดียวไม่ได้ผล ต้องทำพินัยกรรม
เสวนา เรื่อง “สร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อรองรับสังคมสูงวัย” รศ.ดร.เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“ภาพรวมสถานการณ์สังคมสูงวัยเมืองเจียงใหม่”
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นมีการให้ความสนใจเรื่องระบบการดูแลผู้สูงอายุ โดยกระบวนการที่แสดงให้เห็นว่าค่อนข้างมีการตื่นตัวนั้นคือ ตั้งแต่ปี 2552 คณะทำงานสมัชชาสุขภาพและสมัชชาพลเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการบรรจุประเด็นการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาและการดูแลผู้สูงอายุ ได้มีการผลักดันเกี่ยวการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ สู่การผลักดันการพัฒนาระบบการออมในผู้สูงอายุ และมีการขับเคลื่อนพัฒนาประเด็นด้านผู้สูงอายุกันมาเป็นระยะๆ ต่อกันมาเรื่อย ๆ การปรับต่อมาเรื่อย และเมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป เด็กเกิดน้อยลง คนวัยแรงงานมีความหลากหลาย ยิ่งกว่านั้นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเชียงใหม่ ได้ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดใหญ่ มีพื้นที่กว้างขวาง และมีมากถึง 25 อำเภอ นอกจากนั้นยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พื้นที่มีความหลากหลาทั้งพื้นราบและพื้นที่ภูเขาสูง มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีแรงงานข้ามชาติ ค่อนข้างมีผลกระทบไปพร้อมกันเมื่อมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นระบบสังคมเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายไปเป็นครอบครัวเดียว ปัญหาของสิ่งแวดล้อมก็ตามมา ก็มีการพูดถึงสิ่งแวดล้อม อารยะสถาปัตย์ ที่เหมาะสมกับผู้พิการ ผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ครอบคลุมพื้นที่เน้นแบบหลายพื้นที่ เช่น ตำบล หนองตอง สิ่งแวดล้อมปลอดดภัย พอมีประเด็นฝุ่นควัน จะจัดการอย่างไรดี สาเหตุโรคต่างๆ และยังมีเรื่องประเด็นที่สำคัญในสถานการณ์เชียงใหม่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ มีการเปิดโอกาสการทำงานร่วมกับองค์กรเอกชนมาร่วมกับเราทั้งในระบบ และนอกระบบ การจูงใจ นอกจากนั้นรัฐสวัดิการ หลักประกันทั่วหน้า การขับเคลื่อนโรคเรื้อรังต่างๆ และยังมีความเชื่อหลายอย่างเช่น คนสูงอายุมีค่า ผู้สูงอายุสามารถใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แต่ความรอบรู้ ในเรื่องนี้ยังน้อย เช่น ข่าวปลอม ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการทำงานพัฒนาร่วมกับปราชญ์ชุมชน พัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบ สื่อสารให้ผู้สูงอายุในชุมชน ทำอย่างราบรื่น เมื่อเข้าสู่สถารการณ์วิกฤติโควิด เราจะอยู่ในวิกฤติได้อย่างไร ปรับตัวในสังคมแบบสมัยใหม่ เว้นระยะห่าง วิถีชีวิตใหม่ ตลอดรวมไปถึงเรื่องการฉีดวัคซีนของผู้สูงอายุทั้งความกลัวและการเข้าถึงวัคซีนของผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป
สรุปแล้วเชียงใหม่นั้นมีการดำเนินการเรื่องการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2546 เริ่มมีการศึกษาพัฒนาตำบลเข้มแข็ง ตำบลสุขภาวะ ทำให้มีการส่งเสริมการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ โดยการขับเคลื่อนของชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการขับเคลื่อนมีหน่วยงานต่าง สภาองค์กรชุมชน มีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ เคลื่อนไปกับสมัชชาล้านนา และการทำงานขับเคลื่อเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุร่วมกันของเครือข่ายสูงอายุ 8 จังหวัด เกิดกระบวนการทำงานของคณะทีมกลางจังหวัดเชียงใหม่ในการทำงาน เชื่อมประสานกับทุกอย่าง จนแสดงให้เห็นว่าจากเรื่องเน้นการดูแลผู้สูงอายุ จนถึงทุกวันนี้ที่กระบวนการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนสู่การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาระบบและกลไกเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยคือการเตรียมพร้อมจังหวัดเชียงใหม่ในทุกภาคส่วน ทุกช่วงวัยในเรื่อง สังคมผู้สูงวัยที่กำลังจะมาถึงอย่างถาโถม และการดำเนินการต้องทำภายใต้บริบทชุมชนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ผ่านนักคิด นักวางแผน สอดรับนโยบายจังหวัดและประเทศ เน้นการทำงานตามบริบทที่แตกต่างของแต่ละชุมชนท้องถิ่น ฐานการทำงานอยู่ที่ชุมชน ด้วยกลไกการทำงานที่อาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน สิ่งที่ต้องตระหนักต่อไปคือ ถ้าเราต้องการเห็นสังคมที่พร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย “ระบบและกลไกการขับเคลื่อนของเราควรจะเป็นอย่างไร?”
นางจิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ “นโยบายรัฐกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมสูงวัย”
เชียงใหม่เกือบ 20 % (35,000 กว่าคน) ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบกับประเทศไทย พบว่าเรา อบอุ่นมากกว่า ผู้สูงอายุที่โน้น หนาว เหงา ต่างคนต่างอยู่ เสียชีวิตหลายราย แต่ประเทศไทย ร้อนเป็นสิ่งหนึ่งที่มีชีวิต ต่างชาติมาอยู่ในประเทศไทย พบว่า เราโชคดีที่ประเทศมีแสงแดด สามารถออกไปใช้ชีวิตถึงแม้ช้า แต่มีความอบอุ่น หรือการขับเคลื่อนงาน ภาครัฐ เอกชน ทุกอย่างช่วยกัน เราไม่ถือว่าเป็นภาระส่วนราชการใด หนึ่ง ต้องรับผิดชอบ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะถูกตัดเงินหรือเปล่า รัฐบาลยังได้ข้อสรุปอะไรๆ ค่าครองชีพในสูง มีท้องถิ่นสมทบ เห็นอบอุ่นต้องภูมิใจ มีการช่วยเหลือปรับปรุงบ้าน ร่วมกับ ทาง พอช ดูแลเรื่องที่อยู่อาศัย เราคิดถึงนโยบายของรัฐทุกคนต้องมีที่อยู่อาศัย บางราย มีสภาพที่ดี ร้องมาต่อเติมนอนชั้นล่าง ถ้าเราร่วมกัน คิดว่า เงินผู้สูงอายุมีส่วนหนึ่ง เราพยายามที่ลดผู้สังอายุเข้าสถานสงเคราะห์ บางท่านออกมาว่า ดูแลผุ้สูงอายุในชุมชน เช่น อสม. มาเวียนกันดูแลในบ้าน ช่วยอาบน้ำ
ในเชียงใหม่ สมัยก่อนส่งเงินผู้สูงอายุ ปัจจุบันได้แต่เบี้ยงยังชีพ ไม่พอ ยังทิ้งลูกให้เลี้ยงอีก การออมเรายังไม่มีการรณรงค์ คิดว่าน่าจะนำไปขยาย กระตุ้นให้เริ่มออม เรื่องของการรับภาระต่างๆ ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ พึ่งตนเองได้มากที่สุด มีโครงการต่าง ๆก็สอดแทรกให้เขาพึ่งพาตคนเองได้มากที่สุด เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว บางก็คิดถึงผุ้สูงอายุที่เป็นคนไม่ใช้พื้นที่สาธารณะ ไม่เอื้อต่อคนทุกวัย ผู้สูงอายุ คนพิการ ภาครัฐก็คำนึงถึงเรื่องนี้ อยากให้เชียงใหม่ เมืองแห่งการท่องเที่ยวทุกวัย แต่ยังไม่ได้ปรับพื้นที่รองรับกลุ่มคนนี้ อาจจะเป็นคนต่างชาติด้วย เพราะคนสูงอายุก็ไม่อยากออกไปในที่อันตราย การขับรถช้าก็อันตราย ถ้าต่างประเทศติดหลังรถ ว่าเป็นของผู้สูงอายุ ก็จะไม่มีปัญหาตอนขับรถช้า อุบัติเหตุและปัญหาก็จะตามมา
ดังนั้นกระบวนการดำเนินการเพื่อเสริมหนุนละจัดการปัญหาต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ อาศัยนโยบายรัฐที่ควบคู่การทำงานในพื้นที่ปฏิบัติการ มีเครือข่ายทำงานไปพร้อมๆกัน ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
นายวีรยุทธ เทพนันท์ เทศบาลตำบลแม่ข่า “ท้องถิ่นกับการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการสนับสนุนงานผู้สูงอายุแบบบูรณาการ ต.แม่ข่า อ.ฝาง”
ประเด็นสำคัญทำอย่างในท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่เล็ก ชุมชนมีส่วนในการทำงาน มีความท้าทายท้องถิ่น ทำงานสิ่งสำคัญคือการปรับทัศนติ ทำอย่างไรให้ประเด็นผู้สูงอายุเป็นเรื่องของชุมชน ประเด็นผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่สำคัญ ช่วยกันสร้างระบบรองรับสูงวัยเพื่อตนเอง รุ่นไหนก็ต้องทำเพื่อตนเอง แม่ข่ามีเครือข่ายทำงาน สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุ ทำเรื่องนี้ครอบคุลม 5 มิติ ใช้ระบบการจัดการชุมชนท้องถิ่น ผ่านแนวคือ 5อ.และ 5ก. ดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ
1. 5อ. ประกอบไปด้วย
• อาชีพ มีอาชีพที่สอง ผ่านกลกไกต่าง
• อาหาร ปลอดภัย มีธรรมนูญการดูแลสุขภาพคนในชุมชน ศูนย์สมุนไพร
• ออกกำลังกาย รำวงย้อนยุค บ้านหลังเล็กออกกำลังกาย บ้านรักสุขภาพ
• ออม ทำให้อยู่ได้ในบั้นปลายชีวิต อย่างน้อย 1 กองทุนในหมู่บ้าน
• อาสาสร้างเมือง มีอาสาสมัครทำงานดูแลผู้สูงอายุ กองทุนจิตอาสาส 5 บาท เพื่อนช่วยเพื่อน
2. การทำงาน 5 ก.ประกอบไปด้วย
• ลดการเกิดอุบัติเหตุในครัวเรือน และในชุมชน
• การพัฒนา รร.ผู้สูงอายุ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา วิชาการ และสุขภาพ
• การจัดตั้งองค์กรผู้สูงอายุตำบลแม่ข่า เป็นที่พึ่ง เขียนโครงการ พัฒนาของตนเอง
• การดูแลต่อเนื่อง คนในชุมชนดูแลต่อเนื่อง เรามีการทำตาราง ว่าผู้ป่วยกลุ่มไหนดูแลอย่างไร หมุ่นเวียนใช้งบประมาณท้องถิ่น พมจ.ก็สนับสนุน
• กายอุปกรณ์ สำหรับผู้สูงอายุยืมใช้
ใช้ระบบการทำงาน บวรสค. คือ บ้าน วัด โรงเรียน สาธารณสุข และเครือข่ายร่วมต่างๆที่ครอบคลุม ภายใต้การทำงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างไร ใช้เวที อมช. ในการหารือการทำงาน และกิจกรรมในชุมชน คุยกันหาทางออก และ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมสุข และขยายไป อปท. ขยายกลไกเป็นต้นแบบของจังหวัดเชียงใหม่ ขยับเป็นระบบภาค โชว์ แชร์ เชื่อม ภาคเหนือเราจะขยายให้เกิดการดำเนินการร่วมทั้ง 8 จังหวัดอย่างไรร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุภายใต้การนำของพระครูปิยวรรณ จังหวัดเชียงราย โดยมีสถาบันการศึกษาได้แก่ มหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง และพัฒนาระบบและกลไกไปพร้อมกัน นอกจากนั้นยังมีการขยายเครือข่ายภายต้การทำงานแบบภาคีเรียนรู้ร่วมทกับลูกข่ายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นไปด้วยกัน
นางลำดวน มหาวันโหนด Flagship เชียงใหม่ มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ “การเตรียมพร้อมตนเองเพื่อบำนาญเมื่อสูงวัย”
ทำงานร่วมกับสภาลมหายใจ การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย การเตรียมที่มองด้านเศรฐกิจ มีวิธีคิดว่า ตอนที่เราทำ มีหน่วยงานทำงานค่อยข้างเยอะอยู่แล้วเรื่องอื่นๆ แต่มิติทางเศรฐกิจมีน้อยที่น่าสนใจ เพราะเรามองที่กลุ่มคนที่อยู่ชายขอบ และเปราะบาง การเตรียมสำหรับเกษตรกร ไม่มีหลักประกันทางเศรษฐกิจอายุระหว่าง 25-60 ปี เมื่อถึงวัยสูงอายุไม่มีหลักประกันอะไรเลย มีเบี้ยผู้สูงอายุ บางส่วนที่ลูกหลานหาเงินให้ เรามองตรงนี้เนื่องจากเห็นความสำคัญส่วนหนึ่ง เศษฐกิจ
มีรูปแบบการทำงาน 4 หมู่บ้าน นอกเขตป่า 8 หมู่บ้าน เริ่มทำงานตั้งแต่มีการสนับสนุนผ่านโครงการย่อยให้ชุมชน ขับเคลื่อนภายใต้คณะทำงาน ให้พี่เลี้ยงในพื้นที่สนับสนุนการทำงาน ออกแบบเอง การทำงาน จัดหาพี่เลี้ยงที่ปรึกษาเอง เลือกที่มีต้นทุน หมายถึง การพึ่งพาทรัพยากร การเป็นผู้นำ การจัดบันทึกข้อมูลในเชิงตัวเลข ผู้สูงอายุแต่ละชุมชนมีตัวเลขเท่าไหร่ที่มีอายุ 60 มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และสนับสนุนหลายส่วน สำรวจข้อมูลเศรฐกิจรายบุคคล ภาระต่างๆ และให้ความรู้การออมต่างๆ ชุมชนสามารถเลือกวิธีการออมด้วยตัวเอง ตรงกับที่ อ.เจิมศักดิ์ การออมที่ชุมชนไม่ได้ออมตัวเอง แต่ออมในรูปแบบต้นไม้ ที่ห้วยบง ทำข้อมูลรายย่อยที่ ครัวเรือน มีการทำงานประมาณ 10 เดือนที่ผานมา เตรียมตัวเองไปสู่สังคมสูงวัย มีพื้นที่เป็นรูปธรรม
ทำงานร่วมกับท้องถิ่น พมจ. สภาท้องถิ่น การทำงานเป็นรูปธรรมเล็กๆ รูปธรรมถูกขยายและเป็นนโยบายในระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่นที่ดูแลผู้สูงอายุ เชื่อมกับมิติต่างๆ
สรุปและเสนอแนะ โดยอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร ผู้จัดการสำนักงานประสานนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย (สป.สว)
ได้เห็นช้างทั้งตัวของจังหวัดเชียงใหม่ เคยคุยกับ อ.เดชา สถานการณ์ของเชียงใหม่ เปรียบเหมือนช้างเชียงใหม่ สังคมสูงวัยเป็นอย่างไร เห็นทิศทาง แนวโน้มที่ดี แต่เราจะยกระดับ ต่อยอดได้อย่างไร ไม่ว่าจะดำเนินการกันเอง หรือสนับสนุนจากภายนอก มีหน่วยงานยังไม่ประสาน หรือระหว่างประสาน สรุปได้ว่า
1.การบูรณาการเป็น ในระดับชาติ ยุทธศาตร์ 20 ปี ก็มีความพยายามในการบูรณาการองค์กรระดับต่าง ๆในรดับชาติ แต่ก็พบว่า ก็อาจจะไม่รับ แต่ถ่ายงานลงในระดับพื้นที เชียงใหม่การสานพลังความเป็นไปได้สูงมาก น่ายินดี ชื่นชม ปีนี้ระดับชาติ มีงบประมาณในการสนับสนุนการทำงานเรื่องนี้ ทำงานได้ถูกทิศทางอยู่แล้ว ภาคเหนือมีสัดส่วนผู้สูงอายุเยอะมากด
2.เกิดระบบกลไกการขับเคลื่อนสังคมสูงวัยอย่างไร แต่ละคนก็มีการทำงานอยู่แล้ว แม้ว่าช้างอาจจะยังไม่เห็นภาพ แต่ก็เคลื่อน มีตัวอย่างดี ๆในพื้นที่ ตรงนี้เราจะทำอย่างไร สช.ยินดีที่จะมาสนับสนุนพัฒนาระบบ กลไกในการทำงาน จากประสบการณ์เราจะเห็นภาพของการเคลื่อนท้องถิ่นต้องนำมาก่อน เพราะท้องถิ่นจะทำได้ง่าย การปรับวิธีคิดของคนในชุมชน หรืององค์กร ไม่ใช่เรื่ององของผู้สูงอายุสำรอง 30 ปี ขึ้นไป ให้ความสำคัญกับกลุ่มนี้ ออกแบบวาดช้างเชียงใหม่ ที่พร้อม และใช้การสมัครใจ การดูงานข้ามพื้นที่ได้อย่างไร
3.การเสริมศักยภาพแกนนำ จุดไหนที่ต้องเสริมแรงคณะทำงานในพื้นที่นั้น อาจจะต้องรวมทั้งท้องถิ่น ชุมชน ประชาคม เป็นคณะทำงานไม่ใหญ่เกินไป เช่น หลักสูตรรอบรู้สำหรับสังคมสูงวัย
4.การสื่อสารทางสังคม ทำอย่างไรให้การนำเสนอวันนี้เผยแผ่ออกไปให้สังคมโดยรวม สังเคราะห์ออกมาเป็นนโยบาย ระดับชาติ โดยผ่านทางสื่อ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น