กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จัดสัมมนาชี้แจงและประชาสัมพันธุ์กิจกรรมยกระดับหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กำหนดจัดงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม Life Style กิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม (Craftsmanship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคต พร้อมเกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินที่สามารถตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่ ในระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์การค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่ และกิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา ในวันที่ 6 – 8 เดือนกันยายน 2562 ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น 4 กรุงเทพมหานคร โดยมีบูธสินค้า และนิทรรศการจากทั้ง 4 จังหวัดกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 เข้าร่วมงาน พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมาย

นางพรสวรรค์ หมายยอด ผอ.กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่นิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่น สามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ หัตถกรรมเครื่องเขินของภาคเหนือถือว่าเป็นงานที่มีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงมานาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดให้ดำรงไว้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิต รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จึงเกิดแนวความคิดในการอนุรักษ์และพัฒนา ศิลปหัตถกรรมเครื่องเขิน ให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องเขิน และผู้ที่สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ให้เกิดการกระตุ้นเพื่อรักษาภูมิปัญญา ประยุกต์ใช้ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองไม่เห็นหรือยังไม่ได้รับการตอบสนอง ผ่านการคิดค้นการใช้งานในรูปแบบใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์เดิมไม่เคยทำมาก่อน หรือสร้างคุณค่าใหม่ในสายตาของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ

พร้อมกันนี้ ดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร คณะวิจิตรศิลป์ มช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขินของกิจกรรมภายในโครงการ โดยมีการจัดหาวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการเก็บรักษาคุณภาพยางรัก เทคนิคการกรีดยางรัก เทคนิคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในรูปแบบการอนุรักษ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการทำเครื่องเขินตามไลฟ์สไตล์ ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตหัตถกรรมเครื่องเขิน และยังมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย 100 ราย และค้ดเลือกผู้มีศักยภาพให้เหลือ 15 ราย รวมไปถึงดำเนินการคัดเลือก จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินจำนวน 15 ราย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบ และพัฒนาเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ต่อเนื่องด้วยกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15 ราย และยังเป็นวิทยากรร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ อย่างน้อย 5 วัน และดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวนอย่างน้อย 2 ชิ้น/ราย อีกด้วยในกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นของโครงการฯ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น