พช.สันกำแพง จัดกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาด ปชส.หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี บ้านป่าตาล จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมส่งเสริมช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์หมู่บ้านชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จังหวัดเชียงใหม่ บ้านป่าตาล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ยิ่งใหญ่

นายอนุพงษ์  วาวงศ์มูล นายอำเภอสันกำแพง เผยว่า การเปิดหมู่บ้านโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน” ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรายได้ให้แก่ชุมชน การสร้างตลาดใหม่ และการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยการใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิตวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน ในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ถือเป็นการส่งเสริมการตลาดและเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้รู้จักบ้านป่าตาล หมู่ที่ 4 ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง มากขึ้น  เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน  นำเสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม  และความคิดสร้างสรรค์มาแปลงเป็นรายได้ กระจายอยู่ภายในชุมชน สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยคณะทำงานขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นแกนสำคัญในการบริหารจัดการหมู่บ้านให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ของชุมชนให้สวยงามเรียบร้อย ประชาชนในชุมชนร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดี พัฒนาสินค้า OTOP ในชุมชนให้เป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวในรูปแบบของที่ระลึก ค้นคว้า รวบรวม พัฒนาสำรับพื้นถิ่น

         นายราเชนทร์  หนุนแปง  พัฒนาการอำเภอสันกำแพง กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน ที่ใช้ทุนชุมชน ที่เป็นอัตลักษณ์ เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์มาดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนและเกิดการใช้จ่ายเงินในชุมชนและเป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนไปจำหน่ายนอกชุมชนและทำให้เกิดรายได้เฉพาะราย เฉพาะกลุ่มเท่านั้น อำเภอสันกำแพง พิจารณาแล้วเห็นว่า หมู่ที่ 4 ตำบลบวกค้าง มีความพร้อมและมีศักยภาพในการดำเนินโครงการนี้ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และมีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาหลากหลาย การมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ประกอบกับตำบลบวกค้างมีพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งมีผู้นำและชุมชนที่เข้มแข็ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น