สหรัฐอเมริกา ส่งมอบอาคารฝึกอบรมการโรยตัวและการต่อสู้ในระยะประชิด แก่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไมเคิล ฮีธ พร้อมด้วยพลตำรวจตรี วรายุทธ สุขวัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (รอง ผบช.ตชด.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ฝึกอบรมการปฏิบัติการรบในอาคารแบบ “ระยะประชิด” ณ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยอาคารและส่วนต่อขยายที่สร้างขึ้นด้วยทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ แห่งนี้แสดงถึงความร่วมมือที่ยาวนานระหว่างสหรัฐฯ กับไทย อีกทั้งยังจะช่วยให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสามารถยกระดับการปกป้องประชาชนในไทยและทั่วภูมิภาคจากอาชญากรรมข้ามชาติ

อาคารโรยตัวและการต่อสู้ในระยะประชิดแห่งนี้ สร้างขึ้นด้วยทุนสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่แสดงถึงความร่วมมือที่ยาวนานระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย อีกทั้งยังจะช่วยให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสามารถยกระดับการปฏิบัติหน้าที่ โดยตัวอาคารและส่วนต่อขยายมูลค่า 600,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 19.8 ล้านบาท ประกอบไปด้วยสนามซ้อมยิงปืน หมู่บ้านจำลอง อาคารฝึกยุทธวิธี สูง 3 ชั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมไปถึงระบบบันทึกภาพกล้องวงจรปิดแบบดิจิทัล ซึ่งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จะใช้เพื่อฝึกฝนทักษะในสถานการณ์จำลองสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนทบทวนและวิเคราะห์ภาพการฝึกที่บันทึกไว้เพื่อการพัฒนาต่อไป ซึ่งสหรัฐอเมริกามอบการสนับสนุนมูลค่ารวม 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 40 ล้านบาท ให้แก่ตำรวจตระเวนชายแดนในภาคเหนือ โดยส่งเสริมการพัฒนาอาคารแห่งนี้และจะจัดโครงการฝึกอบรมต่างๆในอนาคต

นายไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กล่าวว่า “สหรัฐอเมริกากับไทยมีพันธไมตรีกันมาอย่างยาวนานในหลายๆด้าน ตลอดจนความร่วมมือด้านความมั่นคง ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ยาวนานของเราปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งรวมไปถึงการลักลอบค้ำมนุษย์ ยาเสพติด และสัตว์ป่า โดยช่วยให้ประชาชนของเราทั้งสองชาติ ตลอดจนภูมิภาคนี้ปลอดภัย ความช่วยเหลือที่สหรัฐอเมริกามอบให้เพื่อพัฒนาอาคารหลังนี้ จะยกระดับความสามารถของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในการต่อต้านกิจกรรมผิดกฎหมายข้ามพรมแดน อีกทั้งยังแสดงถึงความทุ่มเทที่เรามีให้แก่ประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคีและพันธมิตรของเรา”

ทั้งนี้สหรัฐอเมริกาและไทย จับมือกันเพื่อขับเคลื่อนผลประโยชน์ที่มีร่วมกันในทุกภาคส่วน รวมถึงการสาธารณสุข การพาณิชย์ การศึกษา และความมั่นคง ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ครอบคลุมระหว่างกันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ในฐานะภาคีและผู้นำระดับภูมิภาค

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น